สำหรับใครที่ได้ติดตามข่าวสารของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ได้พูดเกี่ยวกับนโยบายโครงการ Smart
Thailand ซึ่งเป็นแผนงานใหญ่ที่ นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ดำเนินการอยู่
ตอนนี้ ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรกับโครงการนี้อย่างไรบ้างมาดูกันเลย
Smart Thailand หมายถึง พี่น้องประชาชนคนไทย ในประเทศไทย
สามารถที่จะเข้าถึงไอซีที แล้วก็ใช้
ไอซีทีเป็นเครื่องมือทำให้การใช้ชีวิตชีวิตของทุกๆคนง่ายขึ้น SMART THAILAND เป็นโครงการที่สอดรับกับนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ
และนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยสำหรับปี พ.ศ.
2554-2563 หรือ ICT 2020 รวมถึงนโยบายของรัฐบาล
แนวคิดโครงการนี้
เนื่องจากคนในเมืองใหญ่ๆเข้าถึงไอซีทีเป็นเครื่องมือในการบริหารมากขึ้นแล้ว
แต่ประชาชนที่อยู่ห่างไกลยังเป็นปัญหาอุปสรรคอยู่
เพราะเรื่องปัญหาเครือข่ายโครงข่ายยังไปไม่ถึง
เลยคนที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือได้ แต่ภายใน 4
ปีจากนี้ไป รัฐบาลจะดำเนินโครงการต่างๆเกี่ยวกับไอซีที ให้ประชาชน
โดยให้มีอินเตอร์เน็ตครอบคลุมทั่วถึงชุมชน 80% ของประเทศ
ทั้งในเมืองและชนบทที่อยู่ห่างไกล
ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้สามารถได้ใช้ไอซีทีมาเป็นเครื่องมือในด้านต่างๆได้และเมื่อประชาชนเข้าถึงไอซีทีมากขึ้นแล้วรัฐบาลก็จะเตรียมบริการอิเล็กทรอนิกส์เตรียมบริการให้กับประชาชนด้วย ในการให้บริการประชาชนได้ขึ้น รวดเร็ว สะดวก ประหยัดเวลามากขึ้นด้วย
ซึ่งจะทำให้วงจรเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ดีขึ้นด้วย
โดยกระทรวงฯ ได้ดำเนินงานหลักๆ ใน 3 ส่วน คือ
- SMART NETWORK เป็นการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เน้นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายในการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากร ร้อยละ 80 ในอีก 3 ปีข้างหน้า และร้อยละ 95 ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยปัจจุบันประเทศไทยมีโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงไปถึง (Reach) ระดับตำบล ครอบคลุมประชากรประมาณร้อยละ 87 แต่ยังขาดความพร้อมของอุปกรณ์ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ รวมทั้งการวางสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนของทั้งโครงการประมาณ 80,000 ล้านบาท โดยเป็นเงินลงทุนในการวางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพื่อให้มีบริการอิน เทอร์เน็ตความเร็วสูงไปถึงในระดับตำบล และให้มีบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ และ กระทรวงฯ สนับสนุนให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้ เกิดการใช้สินทรัพย์โครงข่ายร่วมกัน ซึ่งคาดว่าผลของการดำเนินการนี้จะสามารถลดอัตราค่าใช้จ่ายของประชาชนในการ ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากประมาณร้อยละ 6 ของรายได้ต่อประชากร เป็นร้อยละ 3 และลดเหลือร้อยละ 1 ของรายได้ต่อประชากร ซึ่งเป็นอัตราที่เทียบเท่ากับของประเทศที่พัฒนาแล้ว
แผนการดำเนินการขยายโครงข่าย SMART NETWORK
จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปี พ.ศ. 2555 – 2558
เป็นการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของโครงข่ายที่มีอยู่เดิม
ให้มีความพร้อมในการรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
โดยไม่ต้องลงทุนลากสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพิ่มเติม ระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2559 –
2563
จะเป็นการลงทุนลากสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพิ่มเติมไปยังตำบลที่ยังไม่มีโครง
ข่ายฯ เพื่อให้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 95 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
โดยการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงนี้
จะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงข่ายในจังหวัดที่มีความครอบคลุมของโครง
ข่ายน้อยก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น
สตูล กระบี่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด และขอนแก่น เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงฯ
มีแนวคิดที่จะระดมทุนเพื่อนำมาใช้ในการขยายโครงข่าย SMART NETWORK เช่น
การระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
ซึ่งจะช่วยทำให้การขยายโครงข่ายดำเนินไปได้รวดเร็วขึ้น
โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินงบประมาณของรัฐเพียงอย่างเดียว
2. SMART GOVERNMENT
เป็นการส่งเสริมการให้บริการผ่านโครงข่าย SMART NETWORK
ซึ่งบริการอิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น
มีความสำคัญต่อการกระตุ้นความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของ
ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง
โดยได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(องค์การมหาชน)เป็นผู้ดูแลและส่งเสริมการเติบโตของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ของประเทศ ในขณะเดียวกันยังจะได้ผลักดันบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
ของภาครัฐ
โดยในขั้นแรกจะเป็นการผลักดันบริการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างทั่วถึง
และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการและโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ของประชาชนในเขตเมืองและชนบท เช่น โครงการรักษาพยาบาลทางไกล
โครงการศึกษาทางไกล
แผนการดำเนินงาน SMART GOVERNMENT
ซึ่งเป็นการส่งเสริมการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
ของหน่วยงานภาครัฐผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
เพื่อให้เกิดบริการที่มีประสิทธิภาพ สะดวก ทั่วถึงและเป็นธรรม แก่ประชาชน
รวมถึงเป็นการกระตุ้นประชาชนให้มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
มากขึ้น โดยกระทรวงฯ ได้วางแผนที่จะดำเนินการร่วมกับกระทรวงต่างๆ
ในการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐต่างๆ
โดยระยะแรกจะเน้นถึงการส่งเสริมให้มีบริการของภาครัฐที่เป็นบริการพื้นฐาน
หลัก และก่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างแก่ประชาชนคนไทย คือ
1. บริการ Smart – Education เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการขยายโครงข่ายการให้บริการการศึกษาไปยังโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล
2. บริการ Smart – Health เป็นโครงการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลทางไกลผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
3. บริการ Smart – Government เป็นโครงการเพิ่มช่องทางการให้บริการทะเบียนราษฎร์ออนไลน์ โดยขยายการให้บริการภาครัฐ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
4. บริการ Smart – Agriculture เป็น
โครงการพัฒนาระบบศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการเกษตร
โดยให้บริการข้อมูลทางการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผ่านเครื่อง
คอมพิวเตอร์ (Kiosk) ตามแหล่งชุมชนของแต่ละตำบล
และการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)
เพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ
รวมถึงการส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับการเพาะปลูก
3. Smart Business
มาตรการเพื่อกระตุ้นประชาชนให้นำ ICT มาใช้ทำธุรกิจ
โดยสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สส.)
ภายใต้การดูแลของ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(MICT) ได้เล็งเห็นปัญหาในการติดต่อสื่อสาร การทำการธุรกิจ
หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการทำธุรกรรมเชิงธุรกิจ ระหว่างบุคคล องค์กร
หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ซึ่งยังไม่มีความเป็นมาตรฐานสากลในลักษณะของ
Supply Chain ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ
ทางกลุ่มผู้ร่วมค้าได้ทำความเข้าใจในความต้องการของกระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร ในการพัฒนาระบบทะเบียนกลางทางธุรกิจ
สำหรับธุรกิจกลุ่ม ICT
เพื่อให้เกิดการสร้างพันธมิตรในการพัฒนาเครือข่ายข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยให้มีการวิจัยมาตรฐานสากล
รูปแบบโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เช่น TSIC, UN/EDIFACT หรือ
UN/CEFACT ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องดังกล่าว
ให้เกิดเป็น National e-Business Registry สำหรับลงทะเบียนการบริการ (web
service) ของธุรกิจกลุ่ม ICT ในการติดต่อสื่อสาร
และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจ
ให้ครอบคลุมกระบวนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จึงได้จัดทำระบบทะเบียนกลางทางธุรกิจ (National e-Business Registry)
โดยใช้มาตรฐาน UN/CEFACT ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กร
และส่งเสริมให้ใช้มาตรฐานเป็นพื้นฐานร่วมในหน่วยงานธุรกิจต่างๆ
เพื่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น