"AIS" เชื่อตลาดชะลอใช้จ่ายไอทีเหตุรอเทคโนโลยีใหม่ หวัง"windows 8" ฟื้นตลาดไอที
กระแส "แทบเล็ต-สมาร์ทโฟน" เปิดช่องอาชญากรรมออนไลน์มูลค่าเทียบวงการค้ายาผนึก"นอร์ตัน" ส่งแอนตี้ไวรัส"แอเวรี่แวร์" สกัดทุกดีไวซ์
นายสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมตลาดไอทีปี นี้ ต้องรอลุ้นช่วงครึ่งปีหลังจากการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการณ์วินโดว์ส 8 ซึ่งเป็นการปรับโฉมครั้งใหญ่และยังเป็นเทคโนโลยีที่รองรับการทำงานได้ดีกับอุปกรณ์ประเภทแทบเล็ตที่คาดว่าจะยิ่งทำให้กระแสการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆดียิ่งขึ้นอีก ขณะที่เมื่อเทียบกับสภาพตลาดครึ่งปีแรก พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังชะลอการซื้อสินค้าเทคโนโลยี เพราะไม่มีตัวเลือกใหม่ๆ ยกเว้นการซื้อทดแทนเครื่องเสีย"ปัจจัยบวกกับตลาดไอทีที่ เห็นครึ่งปีหลัง คือ วินโดว์ส 8 เพราะเป็นการเปลี่ยนใหญ่ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำให้เปิดโอกาสในตลาดแทบเล็ตได้มาก ซึ่งไม่แน่ใจว่าตลาดจะตอบรับเร็วหรือไม่ แต่หวังว่าจะเร็ว เพราะคนรอช่วงนี้ไม่มีอะไรน่าซื้อ" นายสมชัย กล่าว อาจต้องจับตาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่เริ่มลุกลามไปประเทศต่างๆ และอาจมีผลต่อการใช้จ่ายไอทีทางอ้อม เช่น ธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนักท่องเที่ยวฝั่งยุโรปน้อยลง ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมเริ่มชะลอลงทุนรวมถึงไอที แต่คาดว่าตลาดไอทีปีนี้ยังเติบโตได้เป็นตัวเลขสองหลัก เนื่องจากการเติบโตของอุปกรณ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต
นาย เจสัน ม๊อก ผู้จัดการฝ่ายขายผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์ บริษัท ไซแมนเทค ประเทศไทย กล่าวว่า การเติบโตของสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น แทบเล็ตและโน้ตบุ๊คทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตง่ายขึ้น แต่ก็ทำให้โอกาสที่จะถูกโจมตีจากอาชญากรออนไลน์สูงขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะส่วนใหญ่มักไม่ติดตั้งโปรแกรมป้องกันภัยเหมือนกับบนคอมพิวเตอร์
โดยผลสำรวจนอร์ตัน ไซเบอร์ไครม์ รีพอร์ต 2011 พบว่า มูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรมออนไลน์เริ่มขยับใกล้เคียงกับเงินสะพัดในวง การค้ายาเสพติด หรือ 411 พันล้านดอลลาร์ และ 388 พันล้านดอลลาร์
ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัว (Norton 360 Everywhere) หรือไลเซ่นสำหรับใช้กับอุปกรณ์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, แทบเล็ต คอมพิวเตอร์ รวม 5 เครื่องรองรับเทรนด์ที่ 1 คนเริ่มใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่มากกว่า 1 เครื่อง ทั้งยังอยู่ระหว่างเตรียมแผนเพื่อให้ผู้ใช้สามารถซื้อดาวน์โหลดผ่านเว็บที่ เปิดให้บริการสำหรับตลาดไทยเท่านั้น เพื่อทำให้ได้การบริการและราคาที่เหมาะสมสำหรับลูกค้า.
นายสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมตลาดไอทีปี นี้ ต้องรอลุ้นช่วงครึ่งปีหลังจากการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการณ์วินโดว์ส 8 ซึ่งเป็นการปรับโฉมครั้งใหญ่และยังเป็นเทคโนโลยีที่รองรับการทำงานได้ดีกับอุปกรณ์ประเภทแทบเล็ตที่คาดว่าจะยิ่งทำให้กระแสการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆดียิ่งขึ้นอีก ขณะที่เมื่อเทียบกับสภาพตลาดครึ่งปีแรก พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังชะลอการซื้อสินค้าเทคโนโลยี เพราะไม่มีตัวเลือกใหม่ๆ ยกเว้นการซื้อทดแทนเครื่องเสีย"ปัจจัยบวกกับตลาดไอทีที่ เห็นครึ่งปีหลัง คือ วินโดว์ส 8 เพราะเป็นการเปลี่ยนใหญ่ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำให้เปิดโอกาสในตลาดแทบเล็ตได้มาก ซึ่งไม่แน่ใจว่าตลาดจะตอบรับเร็วหรือไม่ แต่หวังว่าจะเร็ว เพราะคนรอช่วงนี้ไม่มีอะไรน่าซื้อ" นายสมชัย กล่าว อาจต้องจับตาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่เริ่มลุกลามไปประเทศต่างๆ และอาจมีผลต่อการใช้จ่ายไอทีทางอ้อม เช่น ธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนักท่องเที่ยวฝั่งยุโรปน้อยลง ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมเริ่มชะลอลงทุนรวมถึงไอที แต่คาดว่าตลาดไอทีปีนี้ยังเติบโตได้เป็นตัวเลขสองหลัก เนื่องจากการเติบโตของอุปกรณ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต
นาย เจสัน ม๊อก ผู้จัดการฝ่ายขายผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์ บริษัท ไซแมนเทค ประเทศไทย กล่าวว่า การเติบโตของสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น แทบเล็ตและโน้ตบุ๊คทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตง่ายขึ้น แต่ก็ทำให้โอกาสที่จะถูกโจมตีจากอาชญากรออนไลน์สูงขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะส่วนใหญ่มักไม่ติดตั้งโปรแกรมป้องกันภัยเหมือนกับบนคอมพิวเตอร์
โดยผลสำรวจนอร์ตัน ไซเบอร์ไครม์ รีพอร์ต 2011 พบว่า มูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรมออนไลน์เริ่มขยับใกล้เคียงกับเงินสะพัดในวง การค้ายาเสพติด หรือ 411 พันล้านดอลลาร์ และ 388 พันล้านดอลลาร์
ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัว (Norton 360 Everywhere) หรือไลเซ่นสำหรับใช้กับอุปกรณ์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, แทบเล็ต คอมพิวเตอร์ รวม 5 เครื่องรองรับเทรนด์ที่ 1 คนเริ่มใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่มากกว่า 1 เครื่อง ทั้งยังอยู่ระหว่างเตรียมแผนเพื่อให้ผู้ใช้สามารถซื้อดาวน์โหลดผ่านเว็บที่ เปิดให้บริการสำหรับตลาดไทยเท่านั้น เพื่อทำให้ได้การบริการและราคาที่เหมาะสมสำหรับลูกค้า.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น